วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของกำแพงเมืองสงขลา

ความเป็นมาของกำแพงเมืองสงขลา

ที่ตั้ง : กำแพงด้านทิศเหนืออยู่ริมตามแนวถนนจะนะจดกำแพงด้านตะวันตกตรงถนนนครใน และจดกำแพงด้านตะวันออกตรงถนนปละท่า ด้านทิศตะวันออกอยู่ริมตามแนวถนนรามวิถีจดกำแพงด้าน ทิศใต้ที่ถนนกำแพงเพชร (วัดหัวป้อม) ด้านทิศใต้ตามแนวถนนกำแพงเพชรจดกำแพงด้านตะวันตก ที่ถนนนครนอก และกำแพงด้านตะวันตกเลียบถนนนครใน แล้วเลาะแนวถนนนครในไปจดกำแพง ด้านทิศเหนือ

ประวัติความเป็นมา : กำแพงเมืองสงขลาเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2379 ในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ทางกรุงเทพฯได้มีท้องตราลงมาให้ก่อกำแพงและป้อม โดยพระราชทานยกเงินภาษีอากรเมืองสงขลาให้ 200 ชั่ง ก่อกำแพงไม่ทันแล้วเสร็จ หัวเมืองมลายูเป็นกบฏ (พ.ศ.2381) ยกทัพมาเผาเมืองจะนะแล้วเลยเข้าตีเมืองสงขลา พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) รักษาเมืองไว้จนทัพหลวงจากกรุงเทพฯ ยกลงมาช่วยตีทัพกบฏมลายูแตกกลับไป แล้วช่วยก่อกำแพงเมืองสงขลาจนสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2385

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ : กำแพงเมืองสงขลาก่อด้วยหินสอปูน มีเชิงเทินใบเสมาเป็นรูปป้อม มีป้อม 8 ป้อม แต่ละป้อมมีปืนใหญ่กระสุน 4 นิ้ว ป้อมละ 3-4 กระบอก ประตูเมืองเป็นซุ้มใหญ่ 10 ประตู กับมีประตูเล็กอีก10ประตูโดยรอบ บัดนี้ยังคงเหลือแต่กำแพงด้านถนนจะนะ ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา (เรือนจำเก่า) กับที่ถนนนครในเท่านั้น
ข้อมูลจาก : kanchanapisek.or.th

ภาพข้างล่างนี้ เป็นภาพผังเมืองโบราณสงขลา คุณ ArChuRa นำมาให้ชมจากกระทู้นี้
ผังเมืองโบราณสงขลา



ภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ.2478 ของคุณพรเลิศ ละออสุวรรณ
1 คือ เรือนจำ
2 คือ วัดดอนรักษ์ (ดอนรักในปัจจุบัน)
3 คือ ตลาดสด
4 คือ ศาลมณฑลนครศรีธรรมราช
5 คือ ศาลารัฐบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
6 คือ โรงหมอไคเซ

มองเห็นแนวกำแพงเมืองสงขลาขนานกับถนนจะนะ ข้างศาลารัฐบาลฯ (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา)

กำแพงอยู่บริเวณด้านหลังของธนาคารกสิกรไทย

มองตามแนวกำแพงไปทางทิศใต้ ทะลุประตูออกไปเจอถนนนครนอกครับ

เข้าใจว่าเป็นบ้านพักตำรวจ

เจอของดี ถูกทิ้งไว้อย่างไร้ค่า สิ่งนี้คืออะไร


ทำจากซีเมนต์ มีร่องรอยว่าเคยทาสีแดงมาก่อน

30 ใช่แล้วครับ ตู้ไปรษณีย์นั่นเอง

ตู้ไปรษณีย์แบบนี้ เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 โน่นแนะครับ

ขอขอบคุณ http://www.gimyong.com/webboard/index.php/topic,36091.msg113281.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น